ปัญหาและผลกระทบต่อดินและน้ำใต้ดินจากน้ำมันหล่อลื่น

Last updated: 29 พ.ย. 2565  |  497 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ปัญหาและผลกระทบต่อดินและน้ำใต้ดินจากน้ำมันหล่อลื่น

น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วที่ตกค้างบนพื้นดิน มักจะไม่รวมตัวกับสารประกอบในดินแต่จะแทรกตัวอยู่ตามช่องว่างของดิน ทำให้ดินจับตัวเป็นก้อนและไม่มีช่องว่างของอากาศส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในดิน เช่น ไส้เดือน และแมลงขนาดเล็กให้ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ อีกทั้งในกรณีที่พืชบริเวณพื้นที่ปนเปื้อนดูดซึมสารพิษจากน้ำมันหล่อลื่นอาจทำให้เกิดการสะสมสารพิษ และอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ในกรณีที่บริโภคพืชนั้นๆเข้าสู่ร่างกาย น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วบางส่วนจะระเหยสู่อากาศและส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสัตว์ถ้าสูดดมเข้าไป ทั้งนี้ในกรณีเมื่อฝนตกน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วที่ตกค้างบนผิวดินบางส่วนจะถูกชะล้างโดยน้ำฝนและก่อให้เกิดการแพร่กระจายลงแหล่งน้ำผิวดินและซึมผ่านชั้นดินไปปนเปื้อนแหล่งน้ำใต้ดิน ซึ่งในบางพื้นที่มนุษย์อาศัยน้ำใต้ดินทั้งอุปโภคและบริโภคนับว่าเป็นอันตรายอย่างมาก

น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วในแหล่งน้ำใต้ดินมีระยะเวลาในการตกค้างเป็นเวลานาน เนื่องจากน้ำใต้ดินมีการเคลื่อนตัวช้าทำให้ไม่มีการหมุนเวียนและระบายสารปนเปื้อน อีกทั้งการบำบัดด้วยสารเคมีหรือใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดสารพิษจากการปนเปื้อนของน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วทำได้ยาก และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากน้ำมันเครื่องใช้แล้ว เกิดจากการที่เครื่องใช้แล้วย่อยสลายยากในสิ่งแวดล้อมและอาจมีองค์ประกอบของสารพิษหรือโลหะหนักอยู่ หากมีหากมีการหกรั่วไหลบนดิน เททิ้งไปกับรางระบายน้ำฝนหรือกำจัดไปกับขยะก่อให้เกิดการปนเปื้อนลงสู่น้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน

1 แกลลอนของน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้ว สามารถทำให้น้ำสะอาดปนปื้อน 1 ล้านแกลลอน หรือเทียบเท่ากับน้ำที่ให้ประชาชนบริโภค 50 คนต่อปี
น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วก่อให้เกิดการอุดตันในระบบบำบัดน้ำเสีย
เนื่องด้วยคุณสมบัติของน้ำมัน มันสามารถก่อให้เกิดแผ่นฟิล์มขนาด 1 เอเคอร์ เพียงแค่ช้อนเดียวหยดลงในน้ำ
แผ่นฝ้าน้ำมันจะป้องกันแสง ทำให้มีผลกระทบต่อการสังเคราะห์แสง และป้องกันการละลายของออกซิเจน
ทั้งนี้ในการปนเปื้อนของน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วนอกจากจะก่อให้เกิดปัญหาและผลกระทบต่อดินและน้ำใต้ดินตลอดจนระบบนิเวศน์แล้วยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนด้วย เนื่องจากในน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วมีสารมลพิษที่มีความเป็นอันตรายสะสมอยู่ เช่น สารพีเอเอช (PAHs) สารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) และโลหะหนัก (Heavy Metal) แสดงรายละเอียดดังนี้

สารพีเอเอช (PAHs)
โพลีไซคลิกอะโรมาติกส์ไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic Aromatic Hydrocarbon; PAHS) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ประกอบด้วยวงเบนซิน (Benzene Ring) ตั้งแต่ 2 วงขึ้นไป โดยเกิดขึ้นเองจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้ว และมีความเป็นพิษเรื้อรัง ทั้งนี้การได้รับสารพีเอเอซแบบต่อเนื่องยาวนานอาจก่อให้เกิดความเป็นอันตรายต่อระบบต่างๆของร่างกายได้ เนื่องจากสารพีเอเอชบางชนิดจัดเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ตามระบบ Integrated Risk Information System (IRIS) เช่นBenzo[a]pyrene,Dibenz(a,h)anthracene, Indeno[1,2,3-cd]pyrene และ Napthalene เป็นต้น
สารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs)
สารอินทรีย์ระเหยง่ายที่สำคัญและพบได้บ่อยได้แก่ BTEX, ICE และ PCE ซึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายได้โดยการกิน การหายใจ และการสัมผัสทางผิวหนัง ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ดังนี้2.1 เบนซีน (Benzene)
2.2 โทลูอีน (Toluene)
2.3 เอททิลเบนซีน (Ethylbenzene)
2.4 ไซลีน (Xylene)
โลหะหนัก (Heavy Metal)
น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วจะมีโลหะหนักเหลือตกค้างอยู่ภายใต้การใช้งานที่มีจากแหล่งต่างกัน เช่น เกิดจากการสึกหรอของเครื่องยนต์ (Engine wear) การสึกหรอของเครื่องจักร (Bearing Wear) และจากการใช้สารปรุงแต่ง เป็นต้น ทั้งนี้โลหะที่มักพบในน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วประกอบด้วยดังนี้3.1 แคดเมียม (Cadmium; Cd)
3.2 โครเมียม (Chromium; Cr)
3.3 สารหนู (Arsenic; As)
3.4 ตะกั่ว (Lead; Pb)
3.5 สังกะสี (Zinc; Zn)
 

ที่มา : โรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้